เกี่ยวกับโครงการ

“ครูดีไม่มีอบายมุข” ปีการศึกษา 2562 (ปีที่ 9)เนื่องในงาน วันครูแห่งชาติ พ.ศ.2563

โครงการ “ครูดีไม่มีอบายมุข” ปีการศึกษา 2562 (ปีที่ 9)

เนื่องในงาน วันครูแห่งชาติ พ.ศ.2563

หลักการและเหตุผล

ครู เป็นผู้ทำหน้าที่สั่งสอน ฝึกฝน อบรมบ่มนิสัยให้ศิษย์มีความรู้ ความคิด ความสามารถ และความดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างมีคุณธรรมและคุณภาพ  เป็นผู้ที่ควรเคารพ  เป็นผู้นำทางความคิดจิตวิญญาณของคนในสังคม เป็นกัลยาณมิตร และดำรงตนตามคุณธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพครูผู้เป็น “ครู” จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของประเทศ ดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม ดังนั้น “ครู”จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

               พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ได้ใช้คำว่า “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” ซึ่งหมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฏีกาและได้ให้ความหมายของคำว่า “ข้าราชการครู” หมายถึง ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ

               ในการบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ตั้งแต่ระดับสูงได้แก่ระดับกระทรวง กรมเขตพื้นที่ และสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบาย โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาได้ให้นโยบาย นิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เอื้ออำนวยให้ครูมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา จึงมีบทบาทสำคัญให้การบริหารจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมาย ควรแก่การยกย่อง

               ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา  ในปีการศึกษา 2561 โครงการครูดีไม่มีอบายมุขเป็นปีที่ 8 ยกย่องครูดีไม่มีอบายมุข จำนวน 300 คน เกิดเครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข 4 ภาค เครือข่ายโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข 17 โรงเรียน ซึ่งหลังจากได้รับการคัดเลือกและยกย่องไปแล้วนั้น ได้มีบทบาทในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเหล้า บุหรี่ อบายมุขให้กับเยาวชนในโรงเรียน เกิดการตื่นรู้ เกิดการลด ละ เลิก เหล้า บหรี่ อบายมุขในกลุ่มครูทั่วประเทศ ทำให้ครูที่ไม่มีอบายมุขเกิดความภาคภูมิใจเพราะมีคนภายนอกมองเห็นความดี และได้ประสานความร่วมมือในการรณรงค์ให้เยาวชน ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ กับเครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข 

“ถ้าครูปลอดจากอบายมุขแล้วจะสามารถทำหน้าที่ครูได้อย่างเต็มที่นักเรีรยนไหว้ได้อย่างสนิทใจเกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวครูเอง และนักเรียนทั้งในการเป็นแบบอย่างที่ดี และคุณภาพการจัดการเรียนการสอน”

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อยกย่องและประกาศเกียรติคุณ ให้กับ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผุ้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และบุคคลากรทางการศึกษา ที่ลด ละ เลิก อบายมุข ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ มีศีล 5 เป็นปกติ
  2. เพื่อยกย่องโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนปลอดอบายมุขทั้งระบบ เป็นแบบอย่างต่อโรงเรียนอื่น
  3. เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจให้กับ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เบริหารเขตพื้นที่การศึกษา และบุคคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนในการป้องกันแก้ไขปัญหาเหล้า บุหรี่ อบายมุขในโรงเรียน
  4. เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้กับครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารเขตพี้นที่การศึกษา และบุคคลากรทางการศึกษา ในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมทั้งประเทศซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
  5. เพื่อสร้างเครือข่ายครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาและบุคคลากรทางการศึกษาในการลด ละเลิก เหล้าบุหรี่ และอบายมุข
  6. เพื่อสร้างเครือข่ายโรงเรียนปลอดอบายมุข

ระยะเวลา  มิถุนาย  พ.ศ.2562 – มกราคม พ.ศ. 2563

สถานที่ วีเทรน อินเตอร์เนชันแนล เฮ้าส์ ดอนเมือง และหอประชุมคุรุสภา

กลุ่มเป้าหมาย       

1.ครูผู้สอน
2.ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน
3. ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา
4.โรงเรียน

การดำเนินงาน
1.ประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อขอความร่วมมือดังนี้

1.1 ประชาสัมพันธโครงการครูดีไม่มีอบายมุข โรงเรียนดีไม่มีอบายมุขไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
1.2 ขอลายมือชื่อ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมในการจัดทำโล่ และเกียรติบัตรครูดีไม่มีอบายมุข และโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข
1.3 เป็นคณะกรรมการและคณะทำงานดำเนินงาน ในกระบวนการคัดกรอง และจัดงานมอบโล่ประกาศเกียรติคุณครูดีไม่มีอบายมุข
1.4 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้งดเลี้ยงเหล้า เบียร์ บุหรี่ในการจัดงานวันครูทั่วประเทศ
1.5 ให้มีกิจกรรมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ และเกียรติบัตร ครูดีไม่มีอบายมุข โรงเรียนดีไม่อบายมุข ในการจัดงานวันครูทั่วประเทศ
1.6 ขอความอนุเคราะห์จัดส่งเกียรติบัตรครูดีไม่มีอบายมุข ในนาม สพฐ. โดยสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จะจัดบรรจุพร้อมส่ง ในนาม สพฐ.

2. การดำเนินงานในกระบวนการคัดเลือครูดีไม่มีอบายมุข และโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข

2.1 ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัคร (มิถุนายน – กรกฏาคม 2562)
2.2 คัดกรอง/คัดเลือกจากใบสมัครที่ส่งมา (กันยายน – ตุลาคม 2561)
2.3 ประกาศผลครูดีไม่มีอบายมุข (รุ่น 9) และโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข (รุ่น 4) ภายในธันวาคม 2562
2.4 พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ในสัปดาห์วันครู และเชิญสื่อมวลชนทำข่าว (ประมาณ 4-6 มกราคม 2563)

3. จัดทำหนังสือ ครูดีไม่มีอบายมุข เพื่อสรุปผลในภาพรวม

ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

  1. เกิดค่านิยมที่ปราศจากอบายมุขในบุคลากรการศึกษาในแต่ละระดับชั้น
  2. เกิดโรงเรียนต้นแบบ ปลอดอบายมุข เป็นค่านิยมที่ดีในการศึกษา
  3. คุณภาพการศึกษาและพฤติกรรมนักเรียนดีขึ้น จากการได้เห็นแบบอย่างที่ดี และครูปลอดอบายมุข

ผู้ร่วมดำเนินการ

  1. สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล)
  2. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  3. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)
  4. เครือข่ายครูดีไม่มีอบายมุข

ผู้ประสานงานโครงการ

น.ส.อภิศา  มะหะมาน
สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
โทรศัพท์: 089-2748824
อีเมล์: apisa_mhm@hotmail.com